ในระหว่างการประชุม Vienna Energy Forum ประจำปีค.ศ. 2017 มีการจัด สัมมนาในหัวข้อ แนวโน้มและความท้าทายในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ: ประสบการณ์จากเวียนนา (Trends & Challenges in Smart City Development: Experiences from Vienna) การสัมมนาดังกล่าวเป็นที่สนใจเพราะ กรุงเวียนนาไม่เพียงมีชื่อเสียงในระดับนานาชาติในด้านมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่สูง และเป็นเมืองที่น่าอยู่มากเท่านั้น แต่ยังเป็นเมืองที่มีความอัจฉริยะ หรือ “สมาร์ท” ที่สูงอีกด้วย  Smart City Wien ซึ่งเป็นโครงการระยะยาวของเมืองเวียนนาเป็นกลยุทธ์และความพยายามในการปรับปรุงการออกแบบและการพัฒนาเมืองหลวงของออสเตรีย กรุงเวียนนาเป็นเมืองที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ทำให้เมืองต้องเผชิญกับความท้าทายในการปรับสมดุลด้านต่าง ๆ เช่น ความต้องการพลังงาน จำนวนที่อยู่อาศัยราคาไม่แพง และระบบขนส่งสาธารณะ และพยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยเช่นกัน ความท้าทายดังกล่าวทำให้ผู้เชี่ยวชาญจากกรุงเวียนนามีประสบการณ์ในการวางแผนเมืองที่สมาร์ทและสามารถช่วยระบุความท้าทายและโอกาสที่เฉพาะเจาะจงของเมืองอัจฉริยะในประเทศกำลังพัฒนา

การสัมมนาดังกล่าว จัดโดย Global Forum on Sustainable Energy (GFSE) ร่วมกับศูนย์พลังงานเวียนนา Energy Center Wien และ TINA Vienna เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างตัวแทนจากกรุงเวียนนาและผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก ในด้านวิธีสร้างเมืองที่อัจฉริยะ ยั่งยืน และน่าอยู่สำหรับพลเมืองของ กิจกรรมดังกล่าวมองแนวคิดของเมืองอัจฉริยะจากมุมมองและบริบทที่แตกต่าง เพื่อนำไปสู่การหารือที่เกี่ยวกับความท้าทายร่วมกันของเมืองต่าง ๆ โดยยกเอาตัวอย่างของกรุงเวียนนาจากมุมมองในด้านยุทธศาสตร์และนโยบายของเมือง ตลอดจนการวางแผนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมและหนึ่งในคำตอบในการใช้เทคโนโลยี

 

คำถามหลักในการสัมมนานี้ได้แก่

  • Smart City Vienna คืออะไร?
  • เมืองอัจฉริยะเช่นเวียนนามีวิธีการดำเนินการอย่างไรเพื่อลดปริมาณคาร์บอน และมีผลอะไรต่อการวางแผนโครงสร้างพื้นฐานระยะยาว?
  • เมืองอัจฉริยะมีความหมายอย่างไรสำหรับการพัฒนาโครงที่เป็นรูปธรรม?
  • มีทางเลือกด้านเทคโนโลยีและการให้บริการอะไรบ้าง?
  • อะไรคือความท้าทายที่นักพัฒนาจากเมืองเวียนนามีประสบการณ์ในการวางแผนเมืองอัจฉริยะ
  • อะไรคือความท้าทายและโอกาสที่เฉพาะของเมืองในประเทศกำลังพัฒนาและพวกเขาจะพัฒนาไปสู่เมืองอัจฉริยะได้อย่างไร?
  • แนวคิดของเมืองสมาร์ทแตกต่างกันอย่างไรในบริบทต่าง ๆ (เช่นเมืองเล็ก เมืองใหญ่ประเทศอุตสาหกรรม ประเทศกำลังพัฒนา และประเทศเกิดใหม่)?
  • บทเรียนจากเมืองเวียนนาสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาเมืองสมาร์ทอื่น ๆ ทั่วโลกได้อย่างไร?

บทสรุปของการสัมมนาดังกล่าวมีดังนี้

 

  1. เมืองเป็นพื้นที่ที่มีโอกาสพิเศษในการก้าวไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน และมีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับที่ต่ำลง เนื่องจากในปัจจุบันเมืองมีส่วนรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณร้อยละ 75 และการใช้พลังงานประมาณร้อยละ 80 ต่อปี ในปัจจุบันมีสัดส่วนของประชากรยากจนในเมืองที่สูง โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศกำลังพัฒนา โดยคนเหล่านี้อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่อยู่อาศัยราคาถูก หรือการตั้งถิ่นฐานอย่างไม่เป็นทางการ พื้นที่เหล่านี้มีโครงสร้างพื้นฐานและการให้บริการที่ต่ำหรือไม่มีเลย เมืองจึงเป็นพื้นที่ที่สามารถทำการดำเนินการป้องกันสภาพภูมิอากาศและมีความสำคัญในการสร้างหนทางที่จะเปลี่ยน โครงสร้างพื้นฐานของเมืองให้มีคาร์บอนต่ำและยืดหยุ่นต่อสภาพอากาศ (climate- resilient ) ที่สามารถเข้าถึงได้สำหรับทุกคน
  2. บุคลากรจากหลายภาคส่วนมีบทบาทที่จำเป็น ต่อการสร้างเมืองที่อัจฉริยะ และจำเป็นที่จะต้องมีการประสานงานอยากเข้มแข็งและการสร้างความร่วมมือระหว่าง ภาคนโยบายภาคอุตสาหกรรม และสังคม โดยเฉพาะ ในพื้นที่เมืองมีความเชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีต่าง ๆ และมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ บุคลากรจากหลายหลากสาขาจะต้องทำงานร่วมกัน เพื่อจัดการความเกี่ยวเนื่องต่าง ๆ ในเมืองและเพื่อเพิ่มศักยภาพที่มีอยู่
  3. การประสานการด้านการลงทุนในพื้นที่ต่าง ๆ ของเมือง ทั้งด้านคมนาคม โครงสร้างพื้นฐาน ที่อยู่อาศัย และคุณภาพชีวิตเป็นสิ่งสำคัญ ไม่เพียงแต่ในด้านเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังต้องใช้นวัตกรรมทางสังคม เพื่อพัฒนาแนวคิดเมืองอัจฉริยะที่เหมาะสมในระดับท้องถิ่น การติดตามและประเมินผลยังเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้จริงจากการดำเนินการ และผ่านการแบ่งปันประสบการณ์ ไม่เพียงแต่ระหว่างกับพลเมืองและบุคลากรของเมืองเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเมืองอื่น ๆ ที่เป็นพันธมิตรร่วมกันทั่วโลก
  4. ยุทธศาสตร์ Smart City Framework ของเมืองเวียนนาแสดงให้เห็นว่าการร่วมมือกัน และการประสานงานระหว่างบุคลากรที่ทำงานในหลากหลายสาขา (อาทิเช่น โครงสร้างพื้นฐานพลังงาน สภาพภูมิอากาศ ที่อยู่อาศัย ฯลฯ ) กลายเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับความสำเร็จในระยะยาว เพื่อให้แนวคิดเมืองอัจฉริยะประสบความสำเร็จ พลเมืองต้องเป็นหัวใจของยุทธศาสตร์ กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ครอบคลุมนั้นจำเป็นต่อการเชื่อมต่อเข้ากับพลเมืองทุกคน เพื่อการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและเพื่อให้เข้าใจถึงความต้องการของเมืองที่แท้จริง
  5. ความมุ่งมั่นจากภาคการเมืองยังเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ Smart City ที่มีประสิทธิภาพ บุคลากรที่นำในด้านดังกล่าวจากภาคการเมืองสามารถให้การสนับสนุนที่สำคัญและอำนวยความสะดวกในการประสานงานอย่างดีเยี่ยม
  6. ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public-Private-Partnerships – PPPs) อาจหนทางที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาและใช้กลยุทธ์ Smart City เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรทางการเงินจากภาครัฐและเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่การส่งเสริมนวัตกรรมและอำนวยความสะดวกในการบริหารความเสี่ยง อย่างไรก็ตามความเหมาะสมของ PPP ต้องได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบโดยคำนึงถึงความต้องการของเมืองและพลเมืองเป็นหลัก
  7. พลังงานทดแทนและการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการทำให้เมืองมี climate-resilient และสามารถส่งผลประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่นการลดความยากจน การปรับปรุงมลพิษทางอากาศ และด้านสุขาภิบาล
  8. ความต้องการเดินทางในพื้นที่เมืองที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดความท้าทายเป็นอย่างมาก วิธีการจัดการคมนาคมอย่างดังเดิม มีผลกระทบอย่างสูงต่อสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงาน สุขภาพ และศักยภาพในการผลิต คำตอบของระบบคมนาคมที่มีประสิทธิภาพและราคาไม่แพง สามารถมาจากการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีใหม่ ๆ รูปแบบธุรกิจ และนวัตกรรมทางสังคม รวมทั้งกฎระเบียบที่เหมาะสมเพื่อกำหนด มาตรฐานความปลอดภัย คุณภาพการให้บริการ ระดับความเร็ว และการจัดสรรพื้นที่สาธารณะให้กับระบบการขนส่งในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงคนเดินเท้าและจักรยานด้วย จึงจำเป็นต้องมีการประสานงานที่แข็งขันระหว่างผู้ให้บริการและหน่วยงานปกครองเมือง
  9. ระบบการกำกับดูแล หรือ Governance systems นั้นเป็นสิ่งจำเป็นต่อการประสานงานระหว่างหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานระดับภูมิภาค และระดับประเทศเพื่อให้นโยบายและโครงการต่าง ๆ ในระดับต่าง ๆ สนับสนุนซึ่งกันและกัน
  10. เรื่องเพศ และความเท่าเทียม มีความสำคัญและจำเป็นเป็นอย่างมาก ในเชิงการประสานงาน การออกแบบ การวางแผน และการใช้กลยุทธ์เมืองอัจฉริยะในด้านดังกล่าว โดยเฉพาะด้านการเข้าถึงพลังงาน ซึ่งการพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้าง empowerment ในภาคเศรษฐกิจของสตรี

ที่มา https://www.viennaenergyforum.org/content/trends-and-challenges-smart-city-development-experiences-vienna

Click to access GFSEEnergy%20Center%20Wien_Trends%20and%20Challenges%20in%20Smart%20City%20Development.%20Experiences%20from%20Vienna_C1_10%20May_Final_0.pdf