จากกิจกรรมและผลลัพธ์จากการประชุมรัฐภาคีภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change; UNFCCC) สมัยที่ 28 หรือ COP28 สิ่งที่ภาคธุรกิจจำเป็นต้องดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศเพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย 5 ประการ


1. การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต้องดำเนินการแบบเร่งด่วนดังเช่นการวิ่งแข่ง ไม่ใช่วิ่งมาราธอน

เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่บริษัทต่าง ๆ จะพัฒนาและดำเนินการตามแผนการเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็ว แผนเหล่านี้จะต้องประกอบด้วยกลยุทธ์ตั้งแต่ระดับองค์กรไปจนถึงระดับผลิตภัณฑ์ ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคมีข้อมูลในการตัดสินใจซื้อมากขึ้นและจัดสรรเงินให้กับการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน ประโยชน์เชิงพาณิชย์ของแนวทางนี้แสดงให้เห็นแล้วในระดับตลาดสำหรับสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น อลูมิเนียมคาร์บอนต่ำ ซึ่งขายได้ในราคาที่สูงกว่าอลูมิเนียมมาตรฐานหลายเท่าตัว

ในการประชุม COP28 มีการเปิดตัวชุดมาตรการของพลังงานไฮโดรเจนที่จะมีผลดีต่อสภาพภูมิอากาศและเศรษฐกิจ ไฮโดรเจนจะมีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคส่วนที่ยากต่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (hart-to-abate sectors) 

นอกจากนี้ การประชุม COP28 ยังได้เห็นพันธกรณีอื่น ๆ หลายประการในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่ภาคอุตสาหกรรม รวมถึงคำมั่นของบริษัทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่จะลดการปล่อยก๊าซมีเทนร้อยละ 30 ภายในปี 2573 (ค.ศ. 2030) โดยได้รับการสนับสนุนทางการเงินจำนวน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และการเปิดตัวกฎบัตรว่าด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ (Oil & Gas Decarbonization Charter)

2. เพิ่มกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนเป็นสามเท่า

 COP28 ช่วยให้ตลาดพลังงานหมุนเวียนมีโอกาสที่ดี โดยมีข้อตกลงที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเป็นสองเท่า และเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนเป็นสามเท่าภายในปี 2573 (ค.ศ. 2030) การดำเนินการเพื่อเพิ่มการผลิตพลังงานสะอาดอาจไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน บริษัท ERM ได้เผยแพร่รายงาน COP28 Global Offshore Wind Outlook ของบริษัทฯ ที่เน้นย้ำว่าในอัตราการเติบโตในปัจจุบัน ตลาดพลังงานลมนอกชายฝั่งจะสูงถึง 250 กิกะวัตต์ (GW) ภายในปี 2573 ซึ่งตามรายงานของ International Renewable Energy Agency’s latest World Energy Outlook Analysis คิดเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของกำลังการผลิตที่จำเป็นในการรักษาอุณภูมิของโลกให้ต่ำกว่า 1.5oC

การเร่งการผลิตพลังงานสะอาดต้องใช้แนวทางแบบครบวงจร การแก้ไขปัญหาด้านระบบโครงข่ายไฟฟ้า การอนุญาตและข้อกำหนดของห่วงโซ่อุปทานแบบองค์รวม ในการเพิ่มการจัดหาพลังงานสะอาดนั้น บริษัทต่าง ๆ สามารถจัดการความเสี่ยงและสร้างมูลค่าได้ดีขึ้นด้วยการเข้ามามีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานพลังงานหมุนเวียน การสำรวจแหล่งพลังงานทางเลือก แสวงหาโอกาสในการทำงานร่วมกันและหุ้นส่วนความร่วมมือ และทำงานร่วมกับผู้กำหนดนโยบาย

การเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานสะอาดในระดับความเร็วและขนาดที่ต้องการเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศโลกจะขึ้นอยู่กับอัตราที่แร่ธาตุสำคัญที่จำเป็นต่อการพัฒนาโครงการนั้นจะสามารถถูกนำกลับคืนมาและได้จากการทำเหมืองแร่เท่าใด ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ท้าทายที่จะต้องสร้างระบบหมุนเวียนในวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์เพื่อรีไซเคิลแร่ธาตุให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และยกระดับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมของการทำเหมืองแร่เพื่อช่วยลดความล้าช้าในการพัฒนาโครงการ

Credit: rawpixel.com/Carol M Highsmith

3. แก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศโดยให้ความสำคัญกับคนและธรรมชาติ

COP28 ได้แสดงให้เห็นว่าธุรกิจจำนวนมากได้ให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงคนและธรรมชาติเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านที่ยุติธรรมไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ มีการถกเถียงกันมากมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านอย่างยุติธรรม พันธกรณีต่อชุมชนที่เปราะบางที่สุด และความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมของกองทุนชดเชยความสูญเสียและความเสียหาย ซึ่งปัจจุบันมีเงินทุนเริ่มต้นเข้ามาแล้วเกือบ 429 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ธรรมชาติได้ถูกบรรจุในวาระการประชุมฯ แล้ว โดยมีการอภิปรายเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรน้ำ ธรรมชาติ และระบบนิเวศน์ นอกจากนี้ ยังมีแรงขับเคลื่อนใหม่ในการสร้างระบบอาหารที่ดีขึ้นและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น นั่นก็คือ ปฏิญญาว่าด้วยการเกษตรกรรมที่ยั่งยืน ระบบอาหารที่ยืดหยุ่น และการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ (Declaration on Sustainable Agriculture, Resilient Food Systems, and Climate Action) ซึ่ง 146 ประเทศได้แสดงความมุ่งมั่นที่จะขยายขนาดกิจกรรมการปรับตัวและการฟื้นตัวและการตอบสนองเพื่อลดความเปราะบางของเกษตรกร ชาวประมง และผู้ผลิตอาหารอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ในการก้าวไปข้างหน้า ธุรกิจจำเป็นต้องบูรณาการด้านสิทธิมนุษยชนและธรรมชาติให้เป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์ด้านสภาพภูมิอากาศและสร้างกระบวนการตรวจสอบทานธุรกิจ (due diligence) แบบองค์รวม เพื่อติดตามและพัฒนาห่วงโซ่อุปทานให้สอดคล้องกับข้อผูกพันสาธารณะและข้อกำหนดด้านกฎระเบียบ

Credit: rawpixel.com/National Park Service (Source)

4. การคลังเอกชนต้องมีบทบาทมากขึ้น

แม้ว่าจะมีภาระผูกพันทางการเงินล่วงหน้าในการประชุม COP28 โดยจะมีการระดมเงินจำนวน 85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงห้าวันแรกของการประชุมสุดยอด รวมถึงคำมั่นของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่จะให้เงิน 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐแก่กองทุนใหม่ที่ลงทุนในโครงการด้านสภาพภูมิอากาศ แต่ยังจำเป็นต้องดำเนินการเพิ่มขึ้นอีกเพื่อสนับสนุนเงินทุนสำหรับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน

Credit:  Freerange Stock/SteveBuissinne

การคลังเอกชน (private finance) จะต้องมีบทบาทสำคัญในการสร้างเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการเริ่มตลาดคาร์บอนใหม่อีกครั้ง ความร่วมมือระดับโลกของสถาบันการเงินชั้นนำ ชื่อ “Glasgow Financial Alliance for Net Zero (GFANZ)” ที่จัดตั้งขึ้นในการประชุม COP26 ซึ่งปัจจุบันประกอบด้วยสถาบันการเงิน 675 แห่ง จาก 50 ประเทศ ก็มีความคืบหน้าในการดำเนินการอยู่บ้าง

โดยเฉพาะการพัฒนาสถาปัตยกรรมการลงทุนในตลาดคาร์บอนทั่วโลก ในขณะที่กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาพร้อมด้วย Rockefeller Foundation และกองทุน Bezos Earth Fund ก็ได้เปิดตัวกรอบการดำเนินงานสำหรับ Energy Transition Accelerator ซึ่งเป็นโครงการที่ออกแบบมาเพื่อสร้างกองทุนผ่านตลาดคาร์บอนโดยสมัครใจ เพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานที่สะอาดได้ง่ายยิ่งขึ้น

5. เพิ่มภาระความรับผิดชอบของภาคธุรกิจ

ธุรกิจและและภาคการเงินจำเป็นต้องมีขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจนเกี่ยวกับเป้าหมายและการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ

ธุรกิจมีทางเลือก ผู้ที่ปฏิบัติเกินกว่าข้อกำหนดขั้นต่ำในการเปิดเผยข้อมูลภาคบังคับ สามารถใช้การเปิดเผยข้อมูลเป็น Launchpad (แพลตฟอร์มสนับสนุนการลงทุน) เพื่อปรับปรุงผลการดำเนินธุรกิจ ใช้ประโยชน์จากการลงทุน และโอกาสทางการตลาดเพื่อการเปลี่ยนผ่านเชิงกลยุทธ์และเจริญเติบโตในอนาคต

ในขณะที่ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจได้เผชิญกับความท้าทายบางประการจนถึงปัจจุบัน แต่ COP28 ก็ได้ส่งสัญญาณเบื้องต้นบางอย่างเกี่ยวกับการรีเซ็ตตลาด ให้มีความโปร่งใส ความซื่อตรง และผลประโยชน์ที่แท้จริงสำหรับทุกคนมากขึ้น

ความรับผิดชอบจะเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความไว้วางใจในตลาดคาร์บอนอีกครั้ง ผ่านการตรวจสอบที่เชื่อถือได้ของตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่สำคัญ ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจในปัจจุบันมีขนาดเล็ก แต่สามารถเติบโตจนมีมูลค่าถึง 300-500 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีได้ภายในปี 2593 (ค.ศ. 2050) สิ่งนี้ได้เน้นย้ำให้เห็นถึงส่วนที่สำคัญของการขาดแคลนเงินทุน (finance gap) ด้านธรรมชาติ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์จะไม่เกิดขึ้นโดยปราศจากการปกป้องธรรมชาติ และคาร์บอนเครดิตคุณภาพสูงยังมีบทบาทสำคัญต่อผลประโยชน์ของชุมชนและธรรมชาติอีกด้วย

อ้างอิง

https://www.erm.com/insights/5-business-imperatives-from-cop28