
1. สนับสนุนประเทศสมาชิกในการให้คำแนะนำทางด้านเทคนิคในการแก้ปัญหาผลกระทบจากสถานการณ์โควิค-19 ที่มีต่อด้านความปลอดภัยของอาหารและการดำเนินธุรกิจอาหาร
เมื่อวันที่ 9 เมษายน ผู้เชี่ยวชาญจากเครือข่ายอาหรับด้านการวิเคราะห์ความเสี่ยงทางด้านอาหาร (AFRANet) ได้ทำรายงานการทางเทคนิคเกี่ยวกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดเกี่ยวกับโควิค-19 และไวรัสที่เกี่ยวข้อง SARS-CoV-2 ที่ส่งผลกระทบต่อด้านความปลอดภัยของอาหารและการดำเนินธุรกิจอาหารในกลุ่มประเทศอาหรับ โดยรวมถึงชุดมาตรการเพื่อส่งเสริมวิธีการจัดการความเสี่ยงและสุขอนามัยทางด้านอาหาร โดยมุ่งเน้นลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายของไวรัสในกลุ่มของผู้ประกอบการอาหารและรักษาให้ภาคการผลิตอาหารเป็นภาคส่วนที่สำคัญในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจโลก
โดยผู้เชี่ยวชาญที่ร่วมในรายงานดังกล่าวเป็นผู้ที่ผ่านโครงการอบรมที่องค์การ UNIDO มีส่วนสนับสนุนในการให้ความรู้ทางด้านเทคนิคเพื่อการดำเนินงานของธุรกิจผลิตอาหารในประเทศและทั่วโลกในบริบทของสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิค-19 นอกจากนี้ฝ่ายโภชนาการและระบบอาหารในแผนกธุรกิจการเกษตรของ UNIDO มีความพร้อมที่จะช่วยเหลือประเทศสมาชิกในการให้คำแนะนำทางเทคนิคแก่ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารและหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องกับการริเริ่มพัฒนาศักยภาพต่างๆ อีกด้วย
2. สร้างทักษะให้แก่เจ้าหน้าที่ภาคการเกษตรและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ผ่านระบบการเรียนรู้ทางอินเตอร์เน็ต (e-learning) ในประเทศมองโกเลีย
เมื่อวันที่ 20 เมษายน องค์การ UNIDO ยังคงทำพันธกิจในการช่วยประเทศสมาชิกให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างบูรณาการและยั่งยืน และเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิค-19 จึงทำให้การจัดการฝึกอบรมต้องทำผ่านอุปกรณ์การเรียนการสอนออนไลน์และการสัมมนาผ่านเว็บการฝึกอบรมออนไลน์
รายละเอียดโครงการ – โครงการสนับสนุนให้เกิดการจ้างงานในประเทศมองโกเลีย ภายใต้การสนับสนุนเงินทุนจากสหภาพยุโรปและดำเนินร่วมกับกระทรวงอาหาร เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเบาของประเทศมองโกเลีย องค์การ UNIDO ได้ดำเนินการจัดสัมมนาผ่านเว็บ โดยมีผู้เข้าร่วมหลายกว่า 350 คนจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ 21 จังหวัด โดยสัมมนาจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-30 เมษายน 2563 โดยมีผู้เข้าร่วม คือ เจ้าหน้าที่รัฐบาลท้องถิ่นเพื่อการเกษตรและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้แทนของบริษัทและองค์กรเอกชน และกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ โดยวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อแนะนำหลักสูตรระบบการเรียนการสอนออนไลน์ของ UNIDO ซึ่งสามารถสอนหรือเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาแก่ภาคอุตสาหกรรมเบา (light sector industry) โดยในขณะนี้หลักสูตรประกอบด้วย “วิธีจัดการกับก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์” “การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในที่ทำงาน”, “วิศวกรรมการออกแบบรองเท้า” และ “การผลิตเครื่องหนังอย่างยั่งยืน” (ภาษามองโกเลีย)
3. ร่วมมือกับองค์การความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแห่งนอร์เวย์ (Norad) เพื่อช่วยลดผลกระทบจากสถานการณ์โควิค-19 ที่มีต่อ SMEs
องค์การ UNIDO และองค์การความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแห่งนอร์เวย์ (Norad) ได้เปิดเผยกรอบโปรแกรม เชิงระบบ (large-scale new programmatic framework) ของโปรแกรม Global Market Access Program (GMAP) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายด้านคุณภาพและการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ประเทศกำลังพัฒนากำลังเผชิญ เมื่อพยายามเข้าถึงตลาดต่างประเทศและการส่งออกผลิตภัณฑ์ของตนให้สำเร็จ และยิ่งเมื่อโลกเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิค-19 ยิ่งทำให้ความท้าทายและความยากเหล่านี้มีความสำคัญมากกว่าที่เคยเป็น วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต้องการความช่วยเหลือเพื่อความอยู่รอดปรับตัวและดำเนินธุรกิจต่อไปในสภาพแวดล้อมใหม่ที่ท้าทายมากกว่าแต่ก่อน
โดยทาง Norad จะให้เงินทุนสนับสนุนจำนวน 9.5 ล้านยูโรแก่โปรแกรม GMAP เพื่อจะช่วยผู้ประกอบการ SMEs ในประเทศกำลังพัฒนามีความยืดหยุ่นมากขึ้นและการเข้าถึงตลาดโลก โดยใช้แนวทางเชิงระบบ
โปรแกรม GMAP มุ่งเน้นการสร้างความยืดหยุ่นให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และการเข้าถึงตลาดโลกโดยใช้ผ่าน 3 ขั้นตอนนวัตกรรมเชิงระบบ โดยมุ่งเป้าไปที่:
- การเสริมสร้างความสามารถทางเทคนิคและความยั่งยืนของสถาบันที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานคุณภาพ
- ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SMEs ปฏิบัติตามมาตรฐานสากลและระเบียบข้อบังคับทางเทคนิคสากล
- ปลูกฝังและเสริมสร้างวัฒนธรรมด้านคุณภาพ
โดยในปัจจุบันมีประเทศที่ได้รับการคัดเลือกในการดำเนินโครงการ 3 ประเทศ คือ เอธิโอเปีย โคลอมเบียและเมียนมาและในการดำเนินการลำดับถัดไปจะมีการเพิ่มอีกสองประเทศคู่ค้า
แหล่งที่มา :
https://www.unido.org/news/mongolia-building-skills-agriculture-and-sme-officers-through-e-learning
https://www.unido.org/news/unido-norway-help-smes-mitigate-negative-economic-impact-covid-19