Fast fashion (เสื้อผ้าที่ระยะการใช้สั้น เปลี่ยนใหม่เร็ว) นั้นเป็นเทรนของผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าที่ได้รับความสนใจในปัจจุบัน ยี่ห้อเสื้อผ้าที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายเช่น Zara, H&M, หรือ Topshop ต่างก็เป็นสินค้าประเภท Fast fashion ที่ได้รับความนิยมและประสบความสำเร็จในตลาดโลก แต่ข้อเสียและผลกระทบด้านลบของสินค้าfast fashionนั้นก็เริ่มเป็นที่ตระหนักต่อผู้บริโภคอย่างแพร่หลาย ทำให้เกิดช่องว่างของตลาดที่ผู้บริโภคเสาะหาสินค้าอื่นมาทดแทน

จุดเด่นของสินค้า fast fashionคือที่รูปแบบที่ทันสมัย สวยเก๋ และราคาที่ถูก แต่อีกจุดด้อยของมันคือ เมื่อราคานั้นถูกลงก็ส่งผลให้คุณภาพของสินค้านั้นต่ำลง และทำให้ผู้บริโภคต้องซื้อสินค้าใหม่มาหมุนเวียนบ่อยขึ้น เพิ่มอัตราการจับจ่ายและปริมาณขยะขึ้นไปอีกด้วย อีกทั้งเพื่อกดราคาสินค้าให้ต่ำ มีการใช้แรงงานเด็กหรือการกดค่าแรงเพื่อลดต้นทุนการผลิต และการใช้สารเคมีในปริมาณที่สูงในการปลูกป่าน และการผลิตฝ้าย ซึ่งสารเคมีเหล่านี้มีผลกระทบโดยตรงกับระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม

ผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ของ fast fashion ส่งผลให้ผู้บริโภคและเจ้าของกิจการเริ่มมองหาผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมที่น้อยกว่า Organic and Ethical fashion หรือสินค้าที่ผลิตมาจากวัตถูติบและมีกระบวนการผลิตที่ได้รับการรับรองว่าปลอดจากสารพิษโดยการใช้แรงงานที่ถูกต้องตามจริยะธรรมนั้น จึงเริ่มได้รับความนิยม Ethical Fashion Forum (EEF)รายงานว่าในปีค.ศ. 2011 ขนาดของตลาดOrganic Cottonหรือฝ้ายอินทรีย์ เติบโตถึง ร้อยละ 72 จนมีมวลค่ากว่า 177 ล้านปอนด์ ในเวลาเพียงสองปี อีกทั้งมีแรงกดดันจากผู้บริโภคที่ต้องการให้บริษัทต่างๆมีจริยะธรรมในการประกอบการมากขึ้น แม้แต่บริษัท H&M ซึ่งเป็น Fast fashion trader ที่มีขนาดใหญ่มาก ก็เริ่มมีผลิตภัณฑ์ที่ใช้ ฝ้ายอินทรีย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 และตั้งเป้าหมายที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์ของตนเองทั้งหมดใช้ ฝ้ายอินทรีย์ภายในปี 2020.

แม้ว่าในปัจจุบันมาตรฐานที่สูงของฝ้ายอินทรีย์และยังมีข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับsupply chain แต่แนวโน้มในการเลือกใช้ฝ้ายอินทรีย์น่าจะยังคงเพิ่มสูงขึ้น อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มนั้นมีความสาคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย แต่ในปัจจุบัน ปริมาณการส่งออกสิ่งทอและ อัตราการจ้างงานของอุตสาหกรรมดังกล่าวกลับมีแนวโน้มที่ลดลง เนื่องจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในยุโรปและสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดเป้าหมายหลักของไทย และค่าแรงในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามการถดถอยของตลาดสิ่งทอไทยในปัจจุบัน ก็อาจจะเป็นโอกาสที่จะปรับเปลี่ยนแนวทางและสร้างเอกลักษณ์ของตนเองขึ้นมาใหม่เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยในตลาดโลกต่อไป

แหล่งข่าว: Ethical Fashion, not Fast Fashion
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง: แนวโน้มการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยภาพรวม ปี 2557